หน้าแรก
 
...นู๋น่ารักป่าวพี่...
dog16.jpg
powered_by.png, 1 kB

โรคของหูชั้นนอก พิมพ์ ส่งเมลล์
Image
โรคของหูชั้นนอก
    การติดเชื้อจากแบคทีเรีย

    โครงสร้างของหูชั้นนอกของสุนัข จะละเอียดอ่อน ติดเชื้อได้ง่าย เมื่อไหร่ก็ตามหากเจ้าตูบมีอาการ ผิดปกติ จะสั่น หรือส่ายศรีษะไปมา แล้วทำท่าเกาที่หูบ่อยๆ แล้วหว่ะก็ ให้สงสัยว่าอาจจะเกิดการติดเชื้อ ที่รูหู นอกจากที่ว่านี้แล้ว หากเจ้าตูบมีหูที่นิ่ม สีแดง และผิวหนังในรูหูเกิดบวม เป็นหนอง และมีกลิ่นเหม็น ก็แสดงว่าเกิดการ ติดเชื้อขึ้นแล้วเหมือนกัน

    จากสถิติพบว่า ปัญหาที่เกิดขึ้นกับรูหูสุนัข ราว 80% จะเกิดกับหมาที่มีใบหูลู่ลงมา เหตุผลก็คือว่า หมาหูตูบ อากาศจะถ่ายเทไม่สะดวก ในทางตรงกันข้ามกับหมาหูตั้ง เนื่องจากหูไม่อับชื้น ซึ่งเป็นภาวะที่เชื้อแบคทีเรีย ไม่สามารถเจริญเติบโต และขยายพันธุ์ได้รวดเร็ว สาเหตุที่ก่อให้เกิดการติดเชื้อ ส่วนใหญ่มาจากสบู่ น้ำ เส้นขน ไร การแพ้สิ่งต่างๆ ขี้หูมากเกินไป หากหูสะอาด และไม่เปียกแฉะ มักจะมีสุขภาพที่ดี

    ในการตรวจสอบสิ่งแปลกปลอม หรือสาเหตุที่ทำให้เกิดการติดเชื้อ แบบเรื้อรัง จะต้องใช้กล้องแบบส่องหู แต่ทางที่ดี ควรจะให้เป็นหน้าที่ ของสัตวแพทย์จะดีกว่า

    การติดเชื้อที่เกิดจากเชื้อแบคทีเรีย หากปล่อยให้เรื้อรังจะทำให้หูแดง รูหูบวม ก่อให้เกิดความรำคาญ และเจ็บปวด หูที่อยู่ในสภาพเช่นนี้ จะทำความสะอาดได้ยาก เว้นแต่จะให้ยาสงบประสาทอย่างแรง หรือให้ยาสลบ แต่ถ้าหากยังปล่อยปละละเลย ไม่รักษา อาจจะถึงกับลงมือผ่าตัดหู เพื่อให้อากาศถ่ายเทได้สะดวกเหมือนเดิม พร้อมกับกำจัดหนองที่คั่งค้าง

    ขั้นต่อมาก็ต้องพยายามทำความสะอาดหู ตามที่ได้สาธยายมาแล้ว ถ้าหากหูเป็นหนอง ก็ควรชะล้าง ด้วยน้ำยา ไฮโดรเจนเปอร์ออกไซด์ที่เจือจาง โดยการผสม 1 ใน 10 ส่วน หรือล้างด้วยสบู่ที่ใช่ในการผ่าตัด เช่น ไฟโซเฮ็กซ์ หากมีขี้หูมากเกินไป ก็ให้ใช้สารละลายสควาไลน์ทำความสะอาด แล้วซับให้แห้งด้วยสำลีพันปลายไม้ แล้วหยอดหู ด้วยยาหยอดหู ซึ่งหาซื้อได้ตามร้ายขายยา แผนปัจจุบันทั่วไป ควรหยอดหูที่ทำความสะอาดแล้ว วันละ 2 ครั้ง หลังจากนั้น 2-3 วัน อาการก็ควรจะดีขึ้น หากไม่ดีขึ้น ก็ต้องพาไปพบสัตวแพทย์ เพราะถ้าปล่อยให้เนิ่นนานออกไป จะเกิดอันตรายได้ ถ้าหมอบอกว่าจะต้องเพาะเชื้อดู ระหว่างนี้ควรจะต้องหยุดยาปฏิชีวนะ หรือยากระตุ้นจุลชีพ เป็นเวลาอย่างน้อย สัก 3 วัน มิฉะนั้นการเพาะเชื้อจะไม่ได้ผล

    วิธีใช้ยาหยอดหู

    ยาหยอดหูบางชนิดจะเป็นขี้ผึ้ง อยู่ในหลอด โดยมีปลายหลอด เวลาใช้ยา จะแหย่ปลายหลอดยา ให้อยู่กลางรูหู โดยทำมุมตั้งฉากกับศรีษะ จับสุนัขให้แน่น เพื่อกันไม่ให้ปลายหลอดยาทิ่มแทง เอาผนังหู แล้วบีบยาเข้าไปเล็กน้อย แต่ถ้าหากเป็นยาหยอดหูที่เป็นของเหลว ก็หยอดยาสัก 3-4 หยด

    เนื่องจากการติดเชื้อของหู มักจะเข้าไปถึงรูหูส่วนใน จึงต้องให้ยาเข้ามาถึงส่วนนี้ด้วย โดยใช้ นิ้วมือคลึงกระดูกอ่อน ที่ฐานของหู เพื่อให้ยากระจายไปทั่ว

    การพันแผลที่หู

    ขั้นตอนสำคัญในการรักษา การติดเชื้อเล็กๆ น้อยๆ ของหูส่วนนอก ควรยึดใบหูให้ติดกับศรีษะ เพื่อให้อากาศถ่ายเทเข้าออก รูหูได้สะดวก เป็นเรื่องจำเป็นสำหรับสุนัขที่มีหูห้อยลง

    ให้นำปลายหูพับเข้าหากัน หรือจะใช้ถุงเท้าไนลอน หรือแขนเสื้อสเวทเตอร์ โดยสวมศรีษะปิดทับส่วนหู แล้วใช้เทปยึดปลายทั้งสอง ให้ติดกับผิวหนังของสุนัข แต่ต้องระวัง อย่าให้การติดรอบๆ คอแน่นจนเกินไป


< ก่อนหน้า   ถัดไป >
Copyright 2002 - 2006 Dog in Thailand.
All rights reserved.
Dog in Thailand, CED Thailand, Ray Sports, THPSA

Warning: ob_start(): function 'output' not found or invalid function name in /home/vhosts/dog.in.th/httpdocs/web/templates/rhuk_solarflare_ii/index.php on line 266